วัดมหาธาตุ WatMahadhatu
วัดเก่าแก่โบราณคู่เมืองแพรก
“วัดมหาธาตุ” ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท เป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางเมืองสรรคบุรี ริมฝั่งแม่น้ำน้อย เป็นวัดเก่าแก่โบราณคู่เมืองแพรกหรือเมืองสรรค์ เดิมมีชื่อว่า “วัดพระธาตุ หรือ วัดหัวเมือง” ตามประวัติวัดมหาธาตุสร้างขึ้นในสมัยใดหรือใครเป็นผู้ก่อสร้างนั้น ยังไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด จากที่สังเกตุพิจารณาจากรูปแบบสถาปัตยกรรมที่อยู่ภายในวัด น่าจะสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ประกอบกับวัดหลักคู่บ้านคู่เมือง สันนิษฐานว่าผู้ครองเมืองในสมัยนั้นเป็นผู้ก่อสร้างขึ้น
วัดมหาธาตุเป็นวัดที่มีความสำคัญเพราะปรากฏลักษณะทางสถาปัตยกรรม
วัดมหาธาตุเป็นวัดที่มีความสำคัญเพราะปรากฏลักษณะทางสถาปัตยกรรม
วัดมหาธาตุ เป็นโบราณสถานที่มีการแบ่งพื้นที่ใช้งานอยู่ โดยโบราณสถานอยู่ด้านหน้าวัดทางทิศตะวันออก ส่วนด้านทิศตะวันตกของวัดเป็นลานอเนกประสงค์ใช้เป็นตลาดนัดในวันพระ ศาลา อาคารพิพิธภัณฑ์ของวัด โบราณสถานที่ตั้งอยู่ภายในวัดประกอบด้วย เจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ถูกทับด้วยอิฐหักขนาดต่าง ๆ จำนวนมาก ไม่สามารถเห็นลักษณะรูปทรงส่วนของเจดีย์ว่าเป็นทรงอะไร ด้านหน้าเจดีย์ประธานทางด้านทิศตะวันออก เป็นที่ตั้งของอุโบสถหันหน้าไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ำน้อย
ถัดจากอุโบสถทางทิศเหนือเป็นที่ตั้งของวิหารหลวง ตั้งอยู่คู่ขนานกัน โดยช่วงท้ายวิหารทางด้านทิศตะวันตกมีระเบียงคตล้อมรอบเจดีย์ประธาน ด้านท้ายระเบียงคตทางด้านทิศตะวันตกเป็นที่ตั้ง
ของพระพุทธรูปปางมารวิชัย หรือที่ชาวอำเภอสรรคบุรีให้ความเคารพนับถือเรียกกันว่าหลวงพ่อหมอ
หรือหลวงพ่อหลักเมือง ถัดจากวิหารทางด้านทิศเหนือเป็นที่ตั้งของเจดีย์รายจำนวน 2 แถว โดยแถวที่ 1 เป็นเจดีย์ฐาน 8 เหลี่ยมตั้งอยู่ในแนวเดียวกัน 7 องค์ วางตัวตามแนวแกนทิศตะวันออก – ตะวันตก
ถัดขึ้นไปทางด้านทิศเหนือเป็นเจดีย์แถวที่ 2 โดยมีเจดีย์ 3 องค์ วางตัวตามแนวแกน
ทิศตะวันออก – ตะวันตก องค์แรกเป็นเจดีย์ทรงกลีบมะเฟือง องค์ที่ 2 และ 3 เป็นแกนของ
เจดีย์ 8 เหลี่ยม นอกจากนี้ยังมีซากของโบราณสถานลักษณะเป็นกองอิฐอยู่ถัดจากเจดีย์องค์ที่ 3 มา
ทางด้านทิศตะวันตกในแนวแกนเดียวกัน ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฐานของเจดีย์รายเช่นเดียวกัน
ของพระพุทธรูปปางมารวิชัย หรือที่ชาวอำเภอสรรคบุรีให้ความเคารพนับถือเรียกกันว่าหลวงพ่อหมอ
หรือหลวงพ่อหลักเมือง ถัดจากวิหารทางด้านทิศเหนือเป็นที่ตั้งของเจดีย์รายจำนวน 2 แถว โดยแถวที่ 1 เป็นเจดีย์ฐาน 8 เหลี่ยมตั้งอยู่ในแนวเดียวกัน 7 องค์ วางตัวตามแนวแกนทิศตะวันออก – ตะวันตก
ถัดขึ้นไปทางด้านทิศเหนือเป็นเจดีย์แถวที่ 2 โดยมีเจดีย์ 3 องค์ วางตัวตามแนวแกน
ทิศตะวันออก – ตะวันตก องค์แรกเป็นเจดีย์ทรงกลีบมะเฟือง องค์ที่ 2 และ 3 เป็นแกนของ
เจดีย์ 8 เหลี่ยม นอกจากนี้ยังมีซากของโบราณสถานลักษณะเป็นกองอิฐอยู่ถัดจากเจดีย์องค์ที่ 3 มา
ทางด้านทิศตะวันตกในแนวแกนเดียวกัน ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฐานของเจดีย์รายเช่นเดียวกัน
Post a Comment