พระเจ้าใหญ่ลือชัยไม่ปรากฏชัดเจนว่าใครเป็นเป็นผู้สร้างและสร้างขึ้นสมัยใดแต่มีเรื่องเล่าจากผู้เฒ่าแก่ของหมู่บ้านได้เล่าให้ฟังว่ามี 3 พี่น้องจากประเทศลาวได้พากันทำการก่อสร้างคนหนึ่งสร้างพระเหล คนหนึ่งสร้างพระลือ คนหนึ่งสร้างพระโรจน์แต่ก็ไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจน
แต่เมื่อมาค้นคว้า ดูจากหลักฐานตำราหนังสือสร้างแปลงเมืองที่คุณพ่อวิเชียร อุดมสันต์เขียนเอาไว้และจากตำราประวัติ การตั้งบ้านแปลงเมืองอำนาจเจริญ ก็ได้ข้อมูลว่าวัดแห่งนี้การบูรณะอุบโบสถไม้ เมื่อ พ.ศ.2360 (สองพันสามร้อยหกสิบ)ตอนที่ทำหารบูรณะอุโบสถในครั้งนั้นก็มีองค์พระเจ้าอยู่แล้ว และจากการศึกษา ดูจากวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างองค์พระเจ้าใหญ่ลือชัย
ตอนที่พระองค์พระเจ้าใหญ่ท่านแตกร้าวทางวัดได้ ทำการบูรณะและได้รู้ว่าในชั้นในจริง ๆ วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างไม่ใช้ปูนสมัยใหม่เป็นดินเหนียวธรรมดาและฉาบมาด้วยเปลือกหอยที่เผาไฟ และต่อมาชั้นนอกจริง มีรอยฉาบด้วยปูนที่คนโบราณทำกันละมีปูนสมัยใหม่อยู่ด้านนอก บางส่วนอันแสดงให้เห็นว่าพระเจ้าใหญ่ลือชัยได้มีการบูรณะซ่อมแซมมาหลายยุคหลายสมัยชั่วคนพอสมควร และที่ตั้งฐานพระเจ้าใหญ่ลือชัยจะมีปลวกขึ้นอยู่รอบฐานตลอดเวลาทำอย่างไรก็ไม่หาย บางทีทางวัดต้องขุดปลวกออกเป็น 5 สอบ ถึง 10 สอบก็มี แต่ดินปลวกก็ไม่หมดสักทีซึ่งพระองค์อื่นไม่มีอย่างนี้เลยและเป็นที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ เวลาทางวัดจะมีงานนมัสการหรือจะมีคนมาทำบุญที่วัดมากขึ้นจะมีปลวกอ้นพูลขึ้นมาเป็นจำนวนมากเป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง เพราะเหตุเหล่านี้จึงแสดงให้เห็นว่า
พระเจ้าใหญ่ลือชัย หรือพระฤทธิ์ลือชัย ได้มีการบูรณะซ่อมแซม มาหลายยุคหลายสมัยหลายชั่วคนพอสมควร แต่ไม่สามาถทราบได้ว่าสร้างขึ้นสมัยใด ด้วยเหตุนี้ทำให้ ผู้เขียนประวัติไม่รู้จะสรุปการสร้างว่าสร้างใน พ.ศ. ใด จึงได้สรุปสันนิษฐานเอาเฉพาะตอนบูรณะอุโบสถไม่เท่านั้น คือประมาณ
ปี พ.ศ.2360 ถึงการตั้งเมือง คือ พ.ศ.2393 โดยมีหลวงพ่อบัณฑิต และจหมื่นชาโนชิต เป็นผู้นำในการก่อสร้างก่อนที่จะทำการก่อสร้างได้เกิดนิมิตแก่หลวงพ่อบัณฑิตว่า จะหล่อ หรือ จะเหลา หรือจะเอาโหลด
คำว่า หล่อ หมายถึง พระพุทธรูปที่สร้างพิมพ์ขึ้นมาแล้วเทหล่อด้วยปูนผสมทราย และฉาบด้วยปูนเผาโบราณ
คำว่า เหลา หมายถึง พระพุธรูปที่ก่อด้วยอิฐเผาโบราณ ให้เป็นรูปพระขึ้นมาก่อนค่อยฉาบด้วยปูนผสมทรายที่หลัง
คำว่า เอาโรจน์ (เอาโหลด) เป็นภาษาอีสาน แปลว่า เอาง่าย ๆหรือเอาแบบง่าย ๆไม่ต้องทำให้ยาก คือพระพุทธรูปที่ทำจากก่อนหิน โดยใช้มีดหรือเหล็กแข็งถาก และแกะสลักให้เป็นรูปพระแบบง่าย ๆไม่ต้องมีขั้นตอนมากหมาย
เมื่อพิจารณาตามนิมิตนี้แล้ว หลวงพ่อบัณฑิต และหลวงจหมื่นชสโนชิต จึงได้นำศรัทธาญาติโยม ทำการก่อสร้างพระพุทธรูปปรางมารวิชัย โดยการพิมพ์เทหล่อด้วยปูนผสมทรายสำเร็จเป็นพระพุทธรูประหว่างปีพ.ศ.2360-2393 เมื่อสำเร็จแล้วก็มีคนมาขอพรกราบไว้แล้วไปรบข้าศึกต่าง ๆก็ได้รับชัยชนะมาตลอดและเมืองอำนาจเจริญเป็นเมืองหน้าด่าน เมือข้าศึกยกทัพมาก็ต้องผ่านเมืองอำนาจเจริญแห่งนี้ก่อนแต่ข้าศึกเหล่านั้นก็ไม่สามารถยึดและทำอันตรายแก่เมืองอำนาจเจริญได้เพราะอาศัยพระมิ่งเมืองและพระเชื้อเมืองตลอดถึงพระเจ้าใหญ่ลือชัย ที่ประดิษฐานอยู่ที่อุโบสถวัดบ้านอำนาจ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชื่อเสียงของพระพุทธรูปที่ร่ำลือไปไกลทั่วทุกสารทิศ คนทั้งหลายจึงให้นามพระองค์นี้ว่าพระเจ้าใหญ่ลือชัย ตั้งแต่นั้นมา
ต่อมาเมื่อบ้านเมืองอำนาจได้ยกฐานะเป็นอำเภอจึงได้เอาชื่อพระเจ้าใหญ่ลือชัย คืออำว่า ลือ มานำหน้าคำว่าอำนาจจึงได้ชื่อว่าอำเภอลืออำนาจ มาจนถึงปัจจุบัน
ดังนั้นผู้คนมากราบไว้ ขอพระเจ้าใหญ่ลือชัย เพื่อให้เกิดความสำเร็จแห่งชีวิต ทั้งด้านอำนาจ วาสนาหน้าที่การงาน การเงิน ความเจริยรุ่งเรือง รุงโรจน์ ของครอบครัวตลอดไปฯ
ในวันพระแรกของทุกเดือนจะมีกิจกรรมถนนสายวัฒนธรรมบ้านอำนาจ ณ วัดอำนาจ และถนนสายวัฒนธรรมบาล(ถนนทางเข้าวัดบ้านอำนาจ มีกิจกรรมตอนเช้า ทำบุญตักบาตร การรำถวายเจ้าปู่ลือชัย นิทรรศการของดีวัดอำนาจ พระเจ้าใหญ่ลือชัย เจ้าปู้ลือชัย พิพิธภัณฑ์บ้านอำนาจ ถ้ำสิรินาคา ตลาดน้ำวัดบ้านอำนาจ รุกขมรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี ต้นตะคร้อวัดอำนาจ แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงวัดอำนาจ และตอนเย็น สวดมนต์ ทำวัตร ปฏิบัติธรรม
ตำแหน่งที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลอำนาจ หมู่ 2 ต.อำนาจ อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ
การเดินทาง : ใช้เส้นทางถนนสายพนา-ลืออำนาจ ขับผ่านถนนชยางกรู อุบล-อำนาจ เจอสามแยกไฟแดงให้เลี้ยวเข้าไปถนนสายพนา-ลืออำนาจ ประมาณ 500 เมตร ก่อนเข้าทางแยกจะมีป้ายบอกทางเข้าวัด ก็จะพบอีกทางแยกให้เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 100 เมตร
Post a Comment