ตลาดโพนางดำ-ตลาด 100 ปี ของชาวจีนโพ้นทะเล
ประวัติความเป็นมาของตำบลโพนางดำตกนั้น เดิมตำบลโพนางดำตก เป็นตำบลขนาดใหญ่
และเป็นชื่อของตำบลเพียงตำบลเดียว โดยมีตลาดเป็นแหล่งค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า
ผู้คนส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตามตำนานของตลาด เชื่อกันว่าในสมัยก่อน
มีผู้ก่อตั้งตลาด (ตลาดเทศบาลตำบลโพนางดำในปัจจุบัน) ชื่อว่า "นางดำ" เป็นหญิงชรา
เจ้าของตลาดผู้มีนิสัยใจดีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ประกอบกับบริเวณท้ายตลาดมีตันโพธิ์ศรีมหาโพธิ์
ขนาดใหญ่ซึ่งมีอายุเก่าแก่หลายปี นางดำมักจะมาหมั่นดูและรดน้ำพรวนดินให้กับต้นโพธิ์ใหญ่นั้นอยู่เสมอ ๆ ต่อมานางดำได้เสียชีวิต ชาวบ้านในระแวกนี้จึงได้เรียกชื่อต้นโพธิ์ต้นดังกล่าว
ตามชื่อผู้ที่มาดูแลต้นโพธิ์ คือ โพนางดำ ซึ่งหมายถึง ต้นโพธิ์ของนางดำนั่นเอง
ส่วนคำว่า "ตก" นั้นใช้แบ่งทิศของตำบลโพนางดำเดิม ซึ่งใช้แนวทิศและแม่น้ำเจ้าพระยา
แบ่งเขต คือ โพนางดำตก และโพนางดำออก เทศบาลตำบลโพนางดำตก ตั้งอยู่ทางทิศ
ตะวันตก จึงได้เรียกชื่อกันต่อมาว่า "โพนางดำตก"
เมืองซัวเถา ประเทศจีนเข้ามาสู่ประเทศไทย ทั้งนี้ ชาวจีนโพ้นทะเลเมื่ออพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยส่วนหนึ่งเลือกตั้งถิ่นฐานอยู่ในชุมชนต่างจังหวัด ตลาดโพนางดำ เป็นอีกหนึ่งสถานที่ในการตั้งถิ่นฐาน
ของชาวจีนอพยพเหล่านั้น ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของบรรพบุรุษชาวจีนที่อพยพ มาตั้งรกรากมา
และค้าขายอยู่ที่ตลาดโพนางดำมากกว่า 100 ปี สินค้าที่มีชื่อเสียง และมีการซื้อขาย ในตลาดโพนางดำ
มาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน เช่น ขนมหน้างากุยหลี ขนมโบราณ ของดีจังหวัดชัยนาท
ซึ่งหากผ่านหรือแวะมาจังหวัดชัยนาท ต้องไม่พลาดที่จะหาซื้อเป็นของฝากหรือของที่ระลึก
เพราะเป็นขนมหนึ่งเดียวของจังหวัดชัยนาท ที่มีรสชาติอร่อยและมีความเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร
อีกหนึ่งร้านที่มีชื่อเสียงคือ ร้านขายแหนายเฮ้า ที่ชาวประมงทั่วประเทศหาซื้อ
เพราะเมื่อใช้แหจากร้านนี้จับปลาแหจะบานกว้างและหุบเร็วจึงทำให้จับปลาได้มากกว่าแหจากที่อื่น
ทั้งที่พบอยู่ในบริเวณตลาดและบริเวณชุมชน โดยรอบที่สามารถนำมาออกแบบและพัฒนา
กิจกรรมการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเรียนรู้วิถีการท่องเที่ยว
แบบวิถีชนบทที่เป็นวิถีแบบ Slow Life มีดังนี้
เข้ามาในตลาดโพนางดำ แหที่จำหน่ายในอดีตจะทำจากด้ายผ้าที่ย้อมด้วยยางตะโก เพื่อให้สามารถ
ใช้งานได้ทนทาน สมัยก่อนบริเวณตลาดโพนางดำจะมีต้นก้ามปูปลูกอยู่หลายต้นปัจจุบันถูกทำลาย
ไปหมดแล้วและก้ามปูในพื้นที่อื่นก็ค่อนข้างหายาก การทำแหในปัจจุบันจึงได้พัฒนามาใช้เอ็น
แทนด้ายดังเช่นสมัยก่อน โดยเอ็นจะมี 2 ลักษณะคือ เอ็นสีฟ้าเป็นเอ็นปอร์น และสีเขียวเป็นเอ็นเกลียว
ทั้งนี้ทางร้านสั่งซื้อแหที่เป็นเนื้อเอ็นเปล่าๆ หลังจากนั้นนำมาติดตะกั่วโดยชาวบ้านในพื้นที่
ซึ่งได้มีการรวมกลุ่มกันของชาวบ้านเป็น “กลุ่มทำ อุปกรณ์ประมงบ้านโพนางดำ” ที่เป็นการนำเอ็น
จากร้านแหนายเฮ้ามาทำการรุมหัวรุมท้ายใส่ตะกั่วจนข่ายพร้อมใช้งาน โดยการรุมข่ายนั้น
จะเอาเชือกเข้าชุนแล้วนำเชือกอีกเส้นหนึ่งร้อยเข้าไปในข่ายแล้วเริ่มรุมข่ายเมื่อรุมเสร็จแล้ว
จึงทิ้งหัวและท้ายนำตะกั่วมาใส่ท้ายจะได้ข่ายพร้อมใช้งาน แหที่จำหน่ายโดยร้านขายแหนายเฮ้า
ในตลาดโพนางดำ มีจุดเด่นที่แตกต่างจากแหที่จำหน่ายในพื้นที่อื่นคือเมื่อทอดแหลงไปในน้ำ
แหจะบานออกทำให้ปลาติดแหดีซึ่งเป็นเทคนิควิธีการเฉพาะในการติดตะกั่ว และการพัฒนา
ในการทำแหของชาวชุมชนตลาดโพนางดำมาจากการบอกต่อของลูกค้าถึงความต้องการ
ของคุณสมบัติของแหที่ต้องการนำไปใช้ ซึ่งนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่สนใจชมสาธิตการทอดแห
และทดลองทอดแหด้วยตนเองซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ไม่อาจหาได้โดยทั่วไป
Post a Comment