ตลาดท่าพระ 100 ปี ได้นำเอาอัตลักษณ์ จุดเด่นของชุมชนตลาดท่าพระ ชุมชนดั้งเดิม มีรูปแบบอาคารบ้านเรือนที่ยังคงสภาพเดิม เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น และความเก่าแก่ของสถานีรถไฟท่าพระ ที่ก่อสร้างสมัยรัชกาลที่ 6 ในปี 2473 เป็น “ตลาดท่าพระ 100 ปี”ตลาดท่าพระ 100 ปี ใช้สถานีรถไฟเก่าต่อยอดพื้นที่สร้างสรรค์ สร้างแหล่งเรียนรู้ ชูเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สู่การเปลี่ยนแปลงระยะยาว โดยเปิด ทุกวันพุธ ที่ ถนนพาณิชย์ (ตลาดท่าพระ) เทศบาลตำบลท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ตลาดท่าพระ 100 ปี ใช้สถานีรถไฟเก่าต่อยอดพื้นที่สร้างสรรค์ สร้างแหล่งเรียนรู้ ชูเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยเปิด ทุกวันพุธ ที่ ถนนพาณิชย์ (ตลาดท่าพระ)
การรังสรรค์พื้นที่ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นและดึงดูดให้เป็นที่น่าสนใจเป็นเสน่ห์ที่สำคัญของการกำหนดแนวคิดและแผนการดำเนินงานร่วมกันของทุกฝ่าย เพื่อให้ได้มาซึ่งพื้นที่และการออกแบบภายในให้เกิดการผสมผสานและลงตัวที่สุดของการจัดทำสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆให้เกิดขึ้น เช่นเดียวกันกับ เทศบาลตำบลท่าพระ (ทต.) อ.เมือง จ.ขอนแก่น ที่ได้นำกลิ่นอายของความเป็นชุมชนโบราณ มาผสมผสานกับแนวคิดสมัยใหม่ นำจุดเด่นของรูปทรงอาคารโบราณ วิถีชีวิตของคนในชุมชน การละเล่นของเด็กๆ หรือแม้แต่กระทั่งสถานีรถไฟหรือบ้านพักเก่าแก่ที่มีอายุมากเกือบ 100 ปี ทั้งหมดถูกกำหนดมาเป็นจุดขาย และเติมแต่งด้วยการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วม จนทำให้วันนี้ ตลาดท่าพระ 100 ปี กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจและกำลังจะถูกยกให้กลายเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของเมืองขอนแก่น สำหรับผู้ที่ชื่นชอบความเป็นอีสานโบราณที่ถูกนำมาถ่ายทอดผ่านตลาดท่าพระ 100 ปี แห่งนี้
“ตลาดท่าพระ 100 ปี เป็นตลาดที่อนุรักษ์อาคารบ้านเรือนเดิมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นแหล่งวัฒนธรรมของคนในชุมชน และกำลังจะถูกต่อยอดเป็นศูนย์เรียนรู้ประจำตำบลในอนาคต โดยตลาดท่าพระนั้นหากมาจากตัวเมืองขอนแก่น มาตามถนนมิตรภาพ มุ่งหน้าไปยัง จ.นครราชสีมา พอเข้าเขตท่าพระ สังเกตง่ายๆคือซอยที่ตรงกับสถานีรถไฟ หรือพาณิชย์เจริญ ระยะทางประมาณ 200 เมตร ซึ่งทุกท่านจะได้สัมผัสกับพื้นที่ชุมชนตลาดดั้งเดิม มอาคารบ้านเรือนทรงโบราณ รูปแบบการปลูกสร้างเป็นแบบเดียวกันตลอดถนน ซึ่งเทศบาลและ สสส.ได้นำเสน่ห์ของความเป็นพื้นเมือง มาผสมผสานกับของดีในชุมชน มีการออกแบบจุดเด่น และพื้นที่สำหรับการเก็บภาพที่ประทับใจ ในความเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ มีการนำอาหารประจำถิ่นมาจำหน่าย มีการนำศิลปะหรือผลงานทำมือของคนมาจำหน่ายในราคาไม่แพง และที่สำคัญหากผู้ที่ชื่นชอบอาหารพื้นเมืองอย่างก๋วยเตี๋ยวหมู อายุเกือบ 100 ปี หรือแม้แต่กระทั่งสุดยอดเมนูอาหารอีสาน อย่างลาบ-ก้อย และที่สำคัญคือไก่ย่างท่าพระ ทุกคนสามารถที่จะมาลองลิ้มชิมรสได้ที่ตลาดแห่งนี้เช่นกัน”
ได้มีการประสานการทำงานร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ).ขอนแก่น เทศบาลนครขอนแก่น และ จ.ขอนแก่น ในการกำหนดให้ตลาดท่าพระ 100 ปี แห่งนี้ เป็นพื้นที่นำร่องของภาคอีสานในการจัดทำโครงการ Spark U ปลุก-ใจ-เมือง เพื่อปลุกใจคนในชุมชน ปลุกพลังของคนในชุมชน นำของดีที่มีอยู่ อย่างอาคารบ้านเรือน แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ภูมิปัญญาและ ภูมิธรรม นำออกมาถ่ายทอด นำออกมาเสนอให้กับผู้ที่สนใจนั้นได้เข้ามาสัมผัสและศึกษาในความเป็นอัตลักษณ์ของคนท่าพระ และก้าวต่อไปของแผนการดำเนินงานของความเป็นตลาดท่าพระ 100 ปีแห่งนี้ คือการร่วมตัวกันของคนในชุมชน ขอที่ทำการสถานีรถไฟท่าพระ บ้านพักนายสถานี รวมไปถึงหัวรถจักรที่มีอายุเกือบ 100 ปี ที่กำลังจะถูกรื้อทิ้งมาทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นซึ่งก็จะเป็นส่วนหนึ่งของตลาดแห่งนี้เช่นกัน อีกทั้งยังคงได้รับความสนใจจากคนในชุมชนที่พร้อมจะเปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยวที่สามารถมาเที่ยวชมความเป็นตลาดท่าพระได้ในทุกวันอีกด้วย
กลายเป็นตลาดท่าพระร้อยปี ที่ตอนนี้กลายเป็นคอมมูนิตี้แห่งใหม่ของท่าพระเรา และมีคนเข้ามาต่อยอดอีกมากมาย จนกลายเป็นตลาดวัฒนธรรม ถนนวัฒนธรรมในตอนนี้
“ตลาดเรา ตอนแรก ๆ ยังไม่รู้จะไปทิศทางไหน แต่ก็อยากให้มี เพราะตลาดแห่งนี้เดิมเป็นตลาดเก่าของท่าพระที่คึกคักมาก มีพ่อค้าแม่ค้าขายของเต็มไปหมด โดยส่วนใหญ่พ่อค้าแม่ค้าก็จะขายในร้านค้าที่เป็นบ้านไม้โบราณ แต่พอเวลาผ่านไป ความเจริญเข้ามา จากตลาดสถานีรถไฟที่เคยคึกคักก็กลายเป็นตลาดร้าง เพราะคนหันไปใช้รถที่สัญจรบนถนนมิตรภาพแทน ทำให้ตลาดรถไฟท่าพระกลายเป็นตลาดร้าง พอดีกับโครงการสปาร์คยู ปลุก-ใจ-เมือง ของ แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)เข้ามาพอดี ทำให้เราช่วยกันคิด ช่วยกันทำ จนกลายเป็นตลาดท่าพระร้อยปี ที่ตอนนี้กลายเป็นคอมมูนิตี้แห่งใหม่ของท่าพระเรา และมีคนเข้ามาต่อยอดอีกมากมาย จนกลายเป็นตลาดวัฒนธรรม ถนนวัฒนธรรมในตอนนี้”พิสุทธิ์ อนุตรอังกูร นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลท่าพระบอก
นี่คืออีกหนึ่งความสำเร็จ ในการร่วมแรง ร่วมใจ และร่วมมือของชาวชุมชนท่าพระ ที่ทำให้ความเป็นเมืองหน้าด่านเล็ก ๆ อย่างท่าพระ กลับมามีชีวิต และกลายเป็นเมืองเศรษฐกิจอีกครั้ง แถมยังช่วยกระจายรายได้ กระจายความสุขให้กับคนในพื้นที่ ไม่ให้มุ่งหน้าเข้าสู่เมืองขอนแก่นเพียงอย่างเดียว
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้หากใครไปเยือนตลาดท่าพระไม่ถูก ก็แค่สังเกตหมีตัวใหญ่ ที่ยืนอยู่เกาะกลางถนนมิตรภาพ หลังจากเข้าสู่เขตตำบลท่าพระแล้ว แถมหมีตัวโตที่สูงกว่า 3 เมตรตัวนี้ ยังชี้มือไปทางตลาดท่าพระร้อยปีอีกด้วย แค่นี้มั่นใจได้ว่า หากคุณเจอหมี คุณก็เจอตลาดท่าพระ หากคนไปถึงตลาดท่าพระ รับรองคุณก็จะต้องเห็นหมีแน่นอน
ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวณัฐธยาท์ โยหา
ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย สำนักเทศบาลท่าพระ
Post a Comment