กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่
บ้านคลองพี หมู่ที่ 9 ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
(ตามโครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ กับ กศน.อำเภอกาบัง)
ที่มาของผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่และวัสดุจากธรรมชาติ
ในพื้นที่อำเภอกาบัง
มีทรัพยากรไม้ไผ่เป็นจำนวนมาก
และพบว่ายังไม่มีการนำไม้ไผ่มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของใช้ต่าง ๆ ในครัวเรือน
กศน.อำเภอกาบัง
จึงได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้ทำการสำรวจความต้องการฝึกอาชีพเพื่อสร้างรายได้และมีงานทำของกลุ่มแม่บ้าน/สตรี
บ้านคลองพี หมู่ที่ 9 ตำบลบาละ อำเภอกาบัง
จังหวัดยะลา
ที่มีความต้องการจัดตั้งกลุ่มอาชีพเพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว
ซึ่งมีสมาชิกกลุ่มแม่บ้าน/สตรี ร่วมจัดตั้งกลุ่ม จำนวน 10 คน
โดยนางธันญารัตน์ มณีรัตน์ เป็นผู้นำกลุ่มจัดทำผลิตภัณฑ์
จักสานไม้ไผ่และวัสดุจากธรรมชาติ
ในปีงบประมาณ พ.ศ.2561
กศน.อำเภอกาบัง ได้ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณด้านวัสดุ อุปกรณ์
และวิทยากรผู้มีความรู้
ความชำนาญการในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่และวัสดุจากธรรมชาติ ได้แก่
จักสานของใช้ในครัวเรือน เช่น กระด้ง ชลอม ตุ้มดักปลาไหล และตะกร้าหรือเข่งใส่ของ อีกทั้งเป็นการ
ส่งให้เสริมและสนับสนุนภูมิปัญญา/ปราชญ์ชาวบ้านด้านการจักสานไม้ไผ่
สามารถถ่ายทอดให้กับคนรุ่นหลังต่อไปได้
วัสดุ
1.
ไม่ไผ่ 2. ต้นคลุ้ม
3.
หวาย 4. กะลามะพร้าว
อุปกรณ์
1.
มีดพร้า
2.
มีดตอก
3.
เลื่อย
1) ขั้นตอนการทำจักสานชลอม
1.
เลือกลำไม้ไผ่ที่มีความยาวของลำปล้องประมาณ 90-100 เซนติเมตร
2.
ตัดไม้ไผ่ออกเป็นปล้อง ๆ
3.
ผ่าไม้ไผ่ออกเป็นซี่เล็กๆ ครึ่งเซนติเมตร
และผ่าให้ได้ขนาดซี่ในการขัดชลอม
4.
ฉีกไม้ไผ่ที่ผ่าแล้วออกเป็นซี่ ๆ แล้วนำไปเหลาให้ลักษณะแบนสวยงาม
5. นำซี่ไม้ไผ่ที่เหลาเรียบร้อยมาสานเป็นลายตานกเปล้า เพื่อทำเป็นชลอม
2) ขั้นตอนการทำจักสานตุ้มดักปลาไหล
1. เลือกต้นคลุ้มที่ขนาดสวยงามและเหมาะสม
ความยาวประมาณ 2.5-3 เมตร
2. ตัดต้นคลุ้มออกจากกอ
3. นำต้นคลุ้มที่ตัดแล้วมาผ่า
แล้วฉีกออกเป็นซี่ๆ ทำการเหลาลบเหลี่ยม ลบความคม
4. นำซี่ต้นคลุ้มที่เหลาแล้ว
มาสานเป็นลายขัดให้เป็นรูปวงกลม (ดังรูป)
5. ทำงาตุ้มเพื่อดักปลาไหล
โดยการเจาะรูให้เป็นรูปวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 นิ้ว
6. นำไม้ไผ่มาทำงาตุ้ม
ใส่ลงไปในที่เจาะรูไว้ เพื่อกันปลาไหลออก
7. นำกะลามะพร้าวมาเจาะรูผูกเชือก
เพื่อนำมาปิดด้านบนของตุ้มดักปลาไหล
3) ขั้นตอนการทำจักสานตะกร้า
(เข่งใส่ของ)
1. เลือกต้นคลุ้มที่ขนาดสวยงามและเหมาะสม
ความยาวประมาณ 2.5-3 เมตร
2. ตัดต้นคลุ้มออกจากกอ
3. นำต้นคลุ้มที่ตัดแล้วมาผ่า
แล้วฉีกออกเป็นซี่ๆ ที่มีขนาดตามความเหมาะสม และทำการเหลาลบเหลี่ยม ลบความคม
4. นำซี่ต้นคลุ้มที่เหลาแล้ว
มาสานเป็นลายขัดให้เป็นรูปวงกลมหรือสี่เหลี่ยม แล้วแต่ความชอบ
4) ขั้นตอนการทำจักสานกระด้ง
1. เลือกลำไม้ไผ่ไทยที่ไม่อ่อนและไม่แก่จนเกินไป
2. ตัดไม้ไผ่ความยาวประมาณ
80 เซนติเมตร
3. ผ่าไม้ไผ่ออกเป็นซี่เล็ก
ๆ ประมาณครึ่งเซนติเมตร และทำการเหลาลบเหลี่ยม ลบความคม
4. ตัดไม่ไผ่ความยาวประมาณ
1.5 เมตร จำนวน 2 อัน และทำการเหลาลบเหลี่ยม
ลบความคม เพื่อนำมาทำปากกระด้ง
5.
ทำการสานให้เป็นลายบ้องยอง หรือลายสอง ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ
6.
นำลายที่สานไว้มาขึ้นขอบเพื่อทำเป็นกระด้ง
7. นำหวายเส้นเล็กมาผ่า
4 ซี่ และทำการเหลาลบเหลี่ยม ลบความคม
แล้วนำหวายมาผูกที่ขอบกระด้ง และนำหวายอีก 1 เส้น
มาถักเป็นลายหางจระเข้ หรือลายหางแลน
สิ่งที่ต้องการพัฒนาต่อยอดร่วมกับอาชีวศึกษา
1.
เครื่องมือ/อุปกรณ์สำหรับแปรรูปไม้ไผ่ ได้แก่
1.1 เครื่องมือสำหรับผ่าไม้ไผ่
จำนวน 3 ตัว
1.2 เครื่องมือเหลาซี่ไม่ไผ่
จำนวน 3 ตัว
2.
การบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่และวัสดุจากธรรมชาติ
ข้อมูลเนื้อหา
เรื่องราว เขียนโดย นางสาวอัสมะห์ มะรานอ
และทีมงาน กศน.ตำบลบาละ
ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวอัสมะห์ มะรานอ และทีมงาน กศน.ตำบลบาละ
Post a Comment