ผลิตภัณฑ์ผ้าด้นมือ
ต่อมาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำพูน ได้เล็งเห็นแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าด้นมือของกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือประตูป่า จึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาบรมราชินีนาถ จังหวัดลำพูน สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานลำพูน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดลำพูน ส่งเสริม สนับสนุน และจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าทอมือ ให้กลุ่มอาชีพทอผ้าตำบลประตูป่า กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือประตูป่า และกลุ่มไทยอง เช่น สนับสนุนความรู้เรื่องการทอผ้า และการย้อมผ้าสีธรรมชาติ การทำรองเท้า ถุงย่าม หมอนจากผ้าย้อมสีธรรมชาติ การปักลายสลากย้อม เป็นต้น อีกทั้งมีการส่งเสริมโดยเพิ่มช่องทางการขายผลิตภัณฑ์ทางออนไลน์
กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือตำบลประตูป่าและกลุ่ม ไทยอง ประตูป่า
จาก ผ้าด้นมือ สู่ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือผลิตภัณฑ์ลายสลากย้อม ในร้านภูฟ้า
ต่อมากลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือตำบลประตูป่าและกลุ่ม ไทยอง ประตูป่า ได้มองเห็นคุณค่าของวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวบ้านตำบลประตูป่า และมีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน อย่าง “ประเพณีสลากย้อม” จึงได้ร่วมกันนำเอาจุดเด่นนี้เข้ามาผสมผสานในงานผ้าหรือผลิตภัณฑ์ผ้า โดยกลุ่มผ้าทอมือตำบลประตูป่าได้มีแนวคิดในการนำลายสลากย้อมมาสร้างสรรค์ในงานผ้าหรือผลิตภัณฑ์ผ้า ด้วยการผสมผสานประเพณีสลากย้อมมาประยุกต์เป็นลายปักผ้าด้นมือ และต่อยอดในผลิตภัณฑ์เดิมและผลิตภัณฑ์ใหม่ ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบการปักผ้า 9 ลาย ซึ่งความหมายแต่ละลายมีความหมายแตกต่างกันไป ได้แก่
1. ลายปักต้นสลากย้อม หมายถึง การถวายทานเป็นพุทธบูชาของหญิงสาว อานิสงส์ผลบุญเท่ากับการบวชพระ
2. ลายปักจ้อง (ร่ม) หมายถึง ความร่มเย็นเป็นสุข
3. ลายปักตุงใยแมงมุม หมายถึง การปกป้องคุ้มครอง ปัดเป่าสิ่งเลวร้าย ความสามัคคีกัน ความเหนียวแน่น
4. ลายปักตุง (ตุงไชย) หมายถึง ช่วยดลบันดาลให้มีความสุข หลุดพ้นจากความทุกข์
5. ลายปักก๋วยขี้ปุ๋ม (ชะลอม) หมายถึง การถวายอุทิศส่วนบุญให้กับผู้ล่วงลับ หรือการถวายทานไว้ภายหน้า
6. ลายปักผ้าห่อก่ำปี (ผ้าห่อคัมภีร์) หมายถึง รักษา ปกป้องพระธรรมคำสอน
7. ลายปักปลาตะเพียนสาน หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์
8. ลายปักจ๋ำ (ยอตกปลา) หมายถึง การฮอมเงิน ฮอมบุญ (สะสมเงิน สะสมบุญ)
9. ลายปักแปบูรี่ แปเมี่ยง (แพบุหรี่และแพเมี่ยง) หมายถึง เครื่องสักการะบูชา
รูปแบบลายปักผ้าของผลิตภัณฑ์
นับว่าอาชีพการทำผลิตภัณฑ์ผ้าด้นมือของชาวบ้านตำบลประตูป่า ที่มีการพัฒนา มีจุดเด่น จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือปักลาย ซึ่งมีลวดลายเฉพาะและมีเอกลักษณ์ เป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้และสามารถสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีไปพร้อมกัน
ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผ้าทอมือ ตำบลประตูป่า
ข้อมูลเนื้อหา :
กลุ่มผ้าทอมือตำบลประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน
ครู กศน.ตำบลประตูป่า กศน.อำเภอเมืองลำพูน สำนักงาน กศน.จังหวัดลำพูน
ปณิตา สระวาสี. (2559). สลากย้อม. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2561 จาก https://www.sac.or.th/databases/rituals/detail.php?id=2&fbclid=IwAR2znDX8aCzrTYHYcodBa884BT6Idx3d94KuH9vEjhmZJGz-cUWe3V5XwTc
เรียบเรียงข้อมูล/เนื้อหา :
นางสาวจุฑาทิพย์ วิจิตร์ ครู กศน.ตำบล
นางสาวชนัตถธร สาธรรม บรรณารักษ์ปฏิบัติการ
กลุ่มผ้าทอมือตำบลประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน
ครู กศน.ตำบลประตูป่า กศน.อำเภอเมืองลำพูน สำนักงาน กศน.จังหวัดลำพูน
ปณิตา สระวาสี. (2559). สลากย้อม. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2561 จาก https://www.sac.or.th/databases/rituals/detail.php?id=2&fbclid=IwAR2znDX8aCzrTYHYcodBa884BT6Idx3d94KuH9vEjhmZJGz-cUWe3V5XwTc
เรียบเรียงข้อมูล/เนื้อหา :
นางสาวจุฑาทิพย์ วิจิตร์ ครู กศน.ตำบล
นางสาวชนัตถธร สาธรรม บรรณารักษ์ปฏิบัติการ
Post a Comment