โคก หนอง นา สวน ป่า สมุนไพร
“คำว่าพอเพียงความหมายอีกอย่างหนึ่งมีความหมายกว้างขวางออกไปอีก ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เองเท่านั้น แต่มีความหมายว่า พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง”
อ้างอิง https://ka.mahidol.ac.th/king_9/sufficiency-economy.html
วิถีชีวิตคนอีสานในอดีตช่วง 40-50 ปี ที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นชุมชนหรือหมู่บ้านเกษตรกรรมทำนา เป็นอาชีพหลัก เน้นการพึ่งตนเอง พึ่งธรรมชาติในเรื่องของปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิต เนื่องจากยุคสมัยเกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม นายสุนัน มิทะลา บ้านโนนตูม หมู่ที่ 4 ตำบลหนองตอกแป้น อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน จึงได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่แปลงนา เพื่อออกแบบพื้นที่ให้สามารถทำการเกษตรหลากหลาย ไม่ทำเกษตรเชิงเดี่ยว คือเมื่อหมดฤดูเพาะปลูก ก็จะไม่สามารถเพาะปลูกพืชใดๆ ได้ต่อไปอีก เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ได้ใช้ในการปลูกพืชเชิงเดี่ยว (อย่างเช่นข้าว ข้าวโพด) ก่อให้เกิดปัญญาหนี้สิน พึ่งพาตนเองไม่ได้ต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอก เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยา เครื่องจักรการเกษตร ปัญหาสุขภาพ ต้นทุนการผลิตสูง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ต่อมา นายสุนัน มิทะลา ได้มีการพัฒนาพื้นที่แปลงนามาอย่างต่อเนื่องโดยแบ่งพื้นที่ทำการเกษตร ที่มีอยู่ จำนวน 30 ไร่ แบ่งมาทำ “โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล” จำนวน 15 ไร่ โดยการน้อมนำศาสตร์พระราชา มาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
มีการลงแปลงเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติจริง
มีฐานเรียนรู้ 9 ฐานการเรียนรู้
1. ฐานการเรียนรู้คนหัวเห็ด
2. ฐานเรียนรู้คนเอาถ่าน
3. ฐานเรียนรู้คนรักษ์แม่ธรณี
4. ฐานเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติ
5. ฐานเรียนรู้คนติดดิน
6. ฐานเรียนรู้คนรักษ์น้ำ
7. ฐานเรียนรู้คนรักษ์แม่โพสพ (ข้าว)
8. ฐานเรียนรู้คนมีไฟ
(ทำก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์)
9. ฐานเรียนรู้หัวคันนาทองคำ
ผลที่ได้รับจากการน้อมนำศาสตร์พระราชามาปฏิบัติใช้โดยการแบ่งพื้นที่เป็นโคก ใช้ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ปลูกไม้ 5 ระดับลดความเสี่ยงจากภัยแล้ง
มีแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคใช้เพื่อการเกษตร เป็นพื้นที่กว้างในนามีแนวคูรอบ ๆ เป็นที่เลี้ยงปลา คันนากว้างไว้ปลูกผักสวนครัว ใช้ทั้งปี การดำรงชีวิตแบบพออยู่ พอกิน การลงแขก การช่วยเหลือ เกิดเครือข่ายความรู้ร่วมกัน มีปรับเปลี่ยนการวิถีแบบผสมผสานเกิดการเรียนรู้ โดยใช้หลักการบริหารพื้นที่ น้ำ ฟ้า ป่า อากาศ อันจะนำไปสู่ความกินดีอยู่ดี มีรายได้เลี้ยงตัวเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เกิดวิกฤตอาหาร และพลังงาน ก็ไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากการน้อมนำ ศาสตร์พระราชามาปฏิบัติทำให้สามารถพึ่งพาตนเองได้
อ้างอิง https://ka.mahidol.ac.th/king_9/sufficiency-economy.html
ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางบุษบา ภารประดิษฐ์ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางอรอุมา ภูครองนา
ข้อมูล TKP อ้างอิง https://346kalasin.blogspot.com/2022/08/blog-post_11.html
Post a Comment