บุราณบ้านสวน
“บุราณบ้านสวน” เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ชุมชนสามแยกบ้านสวน ตำบลร่อนทอง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีนายประเสริฐ ยุวกาฬกุล จากหนุ่มช่างกลเมืองพัทลุงเมื่อแต่งงานและย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ตำบลร่อนทอง อำเภอบางสะพานสู่การเป็นเกษตรกรต้นแบบด้านเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นผู้ดำเนินกิจกรรม ภาย ในในศูนย์การเรียนรู้ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีจิตอาสา มีแนวทางและความมุ่งมั่น ที่จะดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นเกษตรต้นแบบด้านเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกา ธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร มาปรับใช้ ในการทำเกษตร และเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ เพื่อเผยแพร่ความรู้ในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ให้แก่คนในชุมชนและผู้ที่สนใจทั่วไปได้ศึกษาเรียนรู้ ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจและเข้าศึกษาดูงานทั้งรายบุคคล และกลุ่มหน่วยงาน เป็นจำนวนมาก
โดยเริ่มแรก นายประเสริฐ ยุวกาฬกุล มีการใช้ ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง และยาปราบวัชพืช ในการปลูกพืชผัก ผลไม้ แต่พบว่าการใช้สารเคมีทำให้มีต้นทุนการผลิตสูง แถมประสบปัญหา แพ้สารเคมี จึงตัดสินใจเลิกใช้สารเคมีอย่างเด็ดขาด และหันมาทำเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน เน้นเรื่องความปอดภัย นอกจากจากการปลูกพืชผักแล้ว ยังมีการแบ่งพื้นที่ในการทำนาข้าว เพื่อจำหน่ายและปลูกข้าวพันธุ์ พันธุ์ข้าวที่ปลูก ได้แก่ ข้าวสังข์หยด ข้าวไรซ์เบอร์รี่ข้าว กข 43 ข้าวหอมใบเตยและข้าวหอมปทุม โดยจะปลูกหมุนเวียนสลับกับการปลูกข้าวในแต่ละพันธุ์ ในแต่ละรอบเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคและแมลง เน้นปลูกข้าวเพื่อการแปรรูปเพิ่มมูลค่าข้าวในลักษณะ ข้าวบรรจุถุง มีการติดตั้งเครื่องสีข้าวขนาดเล็กในครัวเรือน โรงสีข้าวขนาดกลาง เครื่องคัดแยกเมล็ดข้าว เครื่องบดเมล็ดข้าว เครื่องบรรจุแบบสุญญากาศ เป็นการทำกันเองภายในครัวเรือน และคนในชุมชนซึ่งจะมีการประกันราคาข้าว เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ปลูกข้าวมีกำลังใจ ในการทำ เหลือจากการรับประทานในครัวเรือนแล้ว สามารถส่งมาสีข้าว เพื่อสร้างรายได้ ให้กับครอบครัว ถือเป็นการช่วยเหลือกันในชุมชน โดยข้าวที่มีการนำมาจัดจำหน่ายนั้น จะเป็นข้าวที่ปลอดสารพิษ มีขั้นตอนการผลิตที่ปลอดภัย จึงเหมาะสำรับกลุ่มคนรักสุขภาพ ที่มีทั้งประชาชนในพื้นที่และต่างพื้นที่แวะเวียนมาซื้อข้าวกันเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้น จึงได้จัดตั้งเป็น “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวกลุ่มผลิตข้าวกล้องเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ” (รหัสทะเบียน : 2-77-04-03/1-0030) ได้รับมาตรฐาน GAP พืชอาหาร (กษ 09-4401-77-007-000002) ซึ่งการปลูกข้าวเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาสิ่งใหม่ๆ รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่องการทำนาปลูกข้าวที่มีมาแต่สมัยโบราณที่มีการร่วมมือร่วมใจกันของคนในชุมชน ไม่ใช้เครื่องทุ่นแรงในการปลูก ก่อให้เกิดความรักสามัคคี ในชุมชน ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านในชุมชนให้ดีขึ้น รู้จักการสร้างรายได้และใช้จ่ายอย่างประหยัดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสามารถพึ่งพาตนเองได้ ชุมชนเข้มแข็งมากขึ้น โดยใช้หลักความพอประมาณ ความมีเหตุ มีผลเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ในการประกอบอาชีพตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของคนในชุมชน มีความมุ่งมั่นเผยแพร่ความรู้การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ให้แก่คนในชุมชนและผู้สนใจได้เอาเป็นแบบอย่าง เน้นผลิตสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ ทำให้พื้นที่บ้านนายประเสริฐ ยุวกาฬกุล แห่งนี้ได้รับการพัฒนาเป็น “ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบุราณบ้านสวน”
“บุราณบ้านสวน” ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง แห่งนี้มีการผสมผสาน ทั้งการปลูกพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชสมุนไพร กว่า 200 ชนิด ทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว กล้วย เงาะ ทุเรียน มังคุด ฝรั่งแก้วมังกร ขนุน หมาก สะตอ กระท้อน มะขามเปรี้ยวยักษ์ ผักกูด ผักเหลียง ผักหวานบ้าน ชะอม ตำลึง มะเขือ ผักบุ้ง ไผ่หวาน คะน้า พริก รวมทั้งปลูกพืชสมุนไพร เช่น พริกไทย บอระเพ็ด ขมิ้นชัน รางจืด ขิง ตะไคร้ นอกจากนี้ ยังปลูกไม้เศรษฐกิจ เช่น ไม้ตะเคียน ขี้เหล็ก สัก สะเดา ไผ่ ยางนา มีการเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เลี้ยงโค ทำนาปลูกข้าวไว้บริโภคในครัวเรือน โดยใช้หลักความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในการประกอบอาชีพตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีฐานเรียนรู้ให้กับผู้ที่มีความสนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้มากมายหลายฐาน ได้แก่ ฐานการเรียนรู้ผักพื้นบ้านเรา ฐานน้ำหมักมีชีวิต ฐานข้าวอินทรีย์ ฐานไก่ไข่อารมณ์ดี ฐานพี่ปลาดุก น้องหอยขม ฐานตลาดเกษตรชุมชน และฐานเกษตรเพื่อพ่อ มีการทำเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน ไม่มีการใช้สารเคมีในพื้นที่ทำเกษตรทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการแบ่งพื้นที่ ให้กับผู้สูงอายุและคนในชุมชนมาปลูกพืชผัก ได้มาทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และมีรายได้ให้กับครอบครัว
จากนั้นจะนำพืชผลทางการเกษตรมาวางจัดจำหน่ายหน้าบ้านและตามตลาดเกษตรกร ธกส.หน้าโรงพยาบาลให้ประชาชนได้บริโภคพืชผลที่ปลอดสารพิษและช่วยให้คนในชุมชนมีรายได้โดยเน้นการปลูกเอง ขายเอง ซึ่งก็ทำให้เห็นว่าผลผลิตจากศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ เป็นที่ต้องการของตลาด และสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อย่างยิ่งยืนโดยที่นายประเสริฐ มีแนวทางและมีความมุ่งมั่นตั้งใจอย่างมากที่จะเผยแพร่ความรู้และแนวทางในการทําการเกษตรทฤษฎีใหม่ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ให้แก่คนในชุมชนและผู้ที่สนใจ โดยยึดหลัก “พูดให้ฟัง ทําให้ดู” และทําบริเวณบ้าน ของเขาให้เป็น ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านสวน เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่คนในชุมชม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริ” เน้นการใช้แรงงานในครัวเป็นหลัก สมาชิกในครอบครัวช่วยกันทําการเกษตร โดยยึดหลัก ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ทําให้นายประเสริฐ ยุวกาฬกุล และกลุ่มสมาชิกในชุมชนมีรายได้ ทั้งรายวันรายสัปดาห์รายเดือนและรายปี จากศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบุราณบ้านแห่งนี้ ซึ่งนายประเสริฐ ยุวกาฬกุล ยังได้ให้ข้อคิดในช่วงสถานการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้น ชุมชนบ้านสวนได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย เพราะในชุมชนมีการช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน
“บุราณบ้านสวน” ไม่เพียงแต่เป็นสถานที่ที่มีการการปลูกพืช ผัก ผลไม้แต่ถือเป็นสถานที่และแหล่งเรียนรู้ที่มีประโยชน์และมีคุณค่าของคนในชุมชนและผู้ที่สนใจเรียนรู้ในการทำเกษตร แบบผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการตลาด เพราะเมื่อมีการปลูกไว้รับประทาน ภายในครัวเรือนแล้ว การส่งเสริมสนับสนุนด้านตลาดก็มีความจำเป็น เพราะประชาชนบางราย ปลูกแล้ว ไม่มีที่จำหน่าย ก็ไม่ทำให้เกิดรายได้แต่“ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบุราณบ้านสวน”
นอกจากส่งเสริมสนับ เผยแพร่ความรู้ในด้านการทำเกษตรผสมผสาน การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ พร้อมยังส่งเสริมสนับสนุนพื้นที่และช่องทางการจัดจำหน่ายให้กับคนในชุมชน ให้มีรายได้ได้พึ่งพาตนเอง ช่วยเหลือเกื้อกูล ทุกคนในชุมชนมีความสุข ตามแนวพระราชดำริ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 รวมถึงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนในชุมชนและนักศึกษา กศน.อำเภอบางสะพานในเรื่องการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เชิงประจักษ์ที่ชัดเจน
กศน.ตำบลร่อนทอง ได้ให้ความสำคัญในเรื่องแหล่งเรียนรู้ในชุมชน จึงได้จัดทำเนียบ แหล่งเรียนรู้ “ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบุราณบ้านสวน” ให้เป็นที่ศึกษาเรียนรู้ของนักศึกษา กศน.ตำบลร่อนทอง โดยนายประเสริฐ ยุวกาฬกุล ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการพัฒนาการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยบางสะพาน อย่างต่อเนื่อง ทั้งเข้ามาเป็นคณะกรรมการสถานศึกษา เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่นักศึกษา กศน. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน นักศึกษาเทียบระดับการศึกษา ประสานความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดกิจกรรมศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย อำนวยความสะดวกเรื่องสถานที่จัดกิจกรรม รวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา กศน.อำเภอบางสะพาน ในเรื่องการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เชิงประจักษ์ที่ชัดเจนในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้บุคลากร กศน. นักศึกษา กศน.รวมถึงกลุ่มเป้าเหมายประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมกิจกรรมกับกศน.อำเภอบางสะพานมีความตระหนักและเห็นคุณค่าการดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ข้อมูลเนื้อหา นายประเสริฐ ยุวกาฬกุล
เขียนโดย นางสาวรุ้งทราย กลิ่นประยูร
ภาพถ่าย/ภาพประกอบ นางสาวรุ้งทราย กลิ่นประยูร
ข้อมูล TKP อ้างอิง https://sites.google.com/dei.ac.th/tkp-prachaup-nfe/home
Post a Comment