วัฒนธรรม ประเพณี อัฏฐมีบูชา หนึ่งในงานระดับประเทศ
วัดใหม่สุคนธาราม ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
ซึ่งเป็นวันถวายพระเพลิงในช่วงเช้าชาวบ้านจะประกอบพิธีทำบุญตักบาตรที่วัดหลังจากนั้นทางวัดใหม่สุคนธารามและชาวบ้านในชุมชนจะช่วยกันสร้างจิตกาธานหรือเชิงตะกอนจำลองเพื่อใช้เป็นที่ถวายพระเพลิงในตอนบ่ายหมู่บ้านต่างๆในละแวกใกล้เคียงวัดก็จะรวมกันจัดขบวนแห่พุ่มผ้าป่าแห่ดอกไม้ไฟประมาณ 3-4 ขบวน มายังวัดเมื่อเสร็จพิธีถวายพระเพลิงแล้วก็จะทำการจุดดอกไม้ไฟ ตะไล กวด ที่ประกอบมาในขบวนแห่นั้นถวายเป็นพุทธบูชาสมัยหลวงพ่อย้อย อินทโร อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ 6 ของวัดใหม่สุคนธารามนับเป็นยุคเฟื่องฟูของงานประเพณีสมัยหนึ่งมีความร่วมมือในการประกอบพิธีทางศาสนาระหว่างชุมชนวัดใหม่สุคนธารามและวัดห้วยพลูโดยในวัน วิสาขบูชาชุมชนจากวัดใหม่สุคนธารามจะไปเวียนเทียนที่วัดห้วยพลูและเมื่อถึงวันอัฐมีบูชาชุมชนจากวัดห้วยพลูก็จะพากันจัดขบวนแห่มาร่วมพิธีซึ่งในยุคนั้นพระอาจารย์ดา ปิยทสสี วัดใหม่ สุคนธารามและคณะศิษย์จะเป็นผู้รับผิดชอบในการประดิษฐ์ดอกไม้ไฟให้กับขบวนแห่ที่มาร่วมงาน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับชุมชนที่ไม่สามารถประดิษฐ์ดอกไม้ไฟการจัดงานครั้งนั้นมีขบวนแห่ ที่มาร่วมงาน 2 สาย คือชุมชนห้วยพลู ตำบลห้วยพลู อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม นำโดยผู้ใหญ่บด ศิริพิน และนายชาญ แก้วบูชา สายที่ 2 คือ ชุมชนวัดกลาง ตำบลบางพระ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม นำโดยกำนันเทียน ปลื้มละมัย แต่การเข้าร่วมของทั้ง 2 ชุมชนนั้น ดำเนินการได้เพียง 2 ปีก็ต้องยุติไปด้วยเหตุจำเป็นบางประการการจัดงานในครั้งนั้นมีการสร้างจิตกาธานจำลองซึ่งหลวงพ่อย้อยผู้ทรงภูมิปัญญาในการแทงหยวกเป็นผู้แกะสลักลวดลายแทงหยวกประดับจิตกาธานจำลองอย่างวิจิตรตระการตา โดยมีลูกศิษย์ คือ นายบุญธธรม ฤทธิ์ศรีสันต์ ซึ่งมีอายุ 61 ปี (จากข้อมูลสัมภาษณ์ของนางจำลอง วิบูลย์ปิ่น เมื่อ พ.ศ.2544) เป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาและช่วยในการแทงหยวกทุกปี ต่อมาสมัยหลวงพ่อเชื้อ สิริปุญโญ อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ 7 ได้ริเริ่มสร้างพระพุทธรูป ปางปรินิพพาน ที่เรียกขานนามว่า“หลวงพ่อใหญ่”ซึ่งเป็นพระปางปรินิพพานที่มีต้นแบบจากประเทศศรีลังกาแกะสลักจากศิลาทรายโดยช่างชาวอยุธยา มีขนาดตลอดพระองค์ 6 เมตร 9 นิ้วชาวบ้านในละแวกนี้ต่างภูมิใจและมีความเชื่อว่าหลวงพ่อใหญ่เป็นพระปางปรินิพพานสร้างจากศิลาทรายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยสมัยพระครูวินัยธรโกศล ปริปุณโณ เจ้าอาวาสองค์ที่ 8 ซึ่งมีนายสำรวย เกิดต่อพันธุ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3 ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ดำรงตำแหน่ง ต่อจากนายบัว ชูสูงทรง ตั้งแต่ พ.ศ.2516เป็นผู้นำชุมชนการจัดงานวันอัฐมีบูชาได้เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางขึ้นโดยหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรต่างๆ ได้เข้ามาให้ความร่วมมือในการจัดงาน คณะสงฆ์ในเขตปกครองคณะอำเภอนครชัยศรี ก็เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมากรวมทั้งชุมชนหมู่บ้านใกล้เคียงต่างให้ความร่วมมือส่งขบวนแห่เข้าร่วมมากขึ้นและสื่อมวลชนก็ได้ให้ความสำคัญในการทำและเผยแพร่ข่าวมากขึ้นด้วยเช่นกันประวัติความเป็นมาในการจัดงานวันอัฐมีบูชานี้ได้ประมวลเหตุการณ์และข้อมูลพบว่าการประกอบพิธีต่างๆของชุมชนแห่งนี้มีความพยายามจัดขึ้นโดยจำลองเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้ใกล้เคียงเหตุการณ์ในพุทธประวัติดังมีการกล่าวไว้ในหนังสือศิลปวัฒนธรรมไทย ฉบับฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปีจัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2525 แสดงให้เห็นว่าชุมชนแห่งนี้มีการเรียนรู้เรื่องราวในพุทธประวัติตอนอัฐมีบูชาโดยละเอียดแม้ว่าทางราชการจะมิได้กำหนดให้เป็นวันสำคัญทางศาสนาหรือแม้แต่บรรจุในหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับแต่ประการใดซึ่งผู้ริเริ่มนั้น จะเรียนรู้จากแหล่งใด มิอาจทราบได้แน่ชัดแต่การที่ชุมชนมีการนำจุดเล็กๆในพุทธประวัติมาเป็นคติในการทำบุญและยังคงสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นนั้นนับเป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความเจริญทางอารยธรรมของชุมชนลุ่มน้ำนครชัยศรี
ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราวโดย พระครูวนกิจโสภณ เจ้าอาวาสวัดใหม่สุคนธาราม
และนายอาทร สูญจันทร์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดละมุด
เรียบเรียงเนื้อหาโดย นายธนวิชญ์ คำวรรณ ครู กศน.ตำบลวัดละมุด
https://www.facebook.com/photo?fbid=2015082848674380
ภาพถ่าย/ภาพประกอบโดย นายธนวิชญ์ คำวรรณ ครู กศน.ตำบลวัดละมุด
Post a Comment