กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ บ้านคลองพี หมู่ที่ 9 ต าบลบาละ อ าเภอกาบัง จังหวัดยะลา (ตามโครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ กับ กศน.อ าเภอกาบัง)
ที่มาของผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่และวัสดุจากธรรมชาติ
ในพื้นที่อ าเภอกาบัง มีทรัพยากรไม้ไผ่เป็นจ านวนมาก และพบว่ายังไม่มีการน าไม้ไผ่มา แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของใช้ต่าง ๆ ในครัวเรือน กศน.อ าเภอกาบัง จึงได้เล็งเห็นความส าคัญจึงได้ ท าการส ารวจความต้องการฝึกอาชีพเพื่อสร้างรายได้และมีงานท าของกลุ่มแม่บ้าน/สตรี บ้านคลองพี หมู่ที่ 9 ต าบลบาละ อ าเภอกาบัง จังหวัดยะลา ที่มีความต้องการจัดตั้งกลุ่มอาชีพเพื่อสร้างรายได้เสริม ให้กับครอบครัว ซึ่งมีสมาชิกกลุ่มแม่บ้าน/สตรี ร่วมจัดตั้งกลุ่ม จ านวน 10 คน โดยนางธันญารัตน์ มณีรัตน์ เป็นผู้น ากลุ่มจัดท าผลิตภัณฑ์ จักสานไม้ไผ่และวัสดุจากธรรมชาติ
ในปีงบประมาณ พ.ศ.2561 กศน.อ าเภอกาบัง ได้ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณด้านวัสดุ อุปกรณ์ และวิทยากรผู้มีความรู้ ความช านาญการในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่และวัสดุจาก ธรรมชาติ ได้แก่ จักสานของใช้ในครัวเรือน เช่น กระด้ง ชลอม ตุ้มดักปลาไหล และตะกร้าหรือ เข่งใส่ของ อีกทั้งเป็นการ ส่งให้เสริมและสนับสนุนภูมิปัญญา/ปราชญ์ชาวบ้านด้านการจักสานไม้ไผ่ สามารถถ่ายทอดให้กับคนรุ่นหลังต่อไปได้
วัสดุ
1. ไม่ไผ่ 2. ต้นคลุ้ม
3. หวาย 4. กะลามะพร้าว
อุปกรณ์
1. มีดพร้า
2. มีดตอก
3. เลื่อย
1) ขั้นตอนการท าจักสานชลอม
1. เลือกล าไม้ไผ่ที่มีความยาวของล าปล้องประมาณ 90-100 เซนติเมตร
2. ตัดไม้ไผ่ออกเป็นปล้อง ๆ
3. ผ่าไม้ไผ่ออกเป็นซี่เล็ก ๆ ประมาณครึ่งเซนติเมตร และผ่าให้ได้ขนาดซี่ในการขัดชลอม
4. ฉีกไม้ไผ่ที่ผ่าแล้วออกเป็นซี่ ๆ แล้วน าไปเหลาให้ลักษณะแบนสวยงาม
5. น าซี่ไม้ไผ่ที่เหลาเรียบร้อยมาสานเป็นลายตานกเปล้า เพื่อท าเป็นชลอม
2) ขั้นตอนการท าจักสานตุ้มดักปลาไหล
1. เลือกต้นคลุ้มที่ขนาดสวยงามและเหมาะสม ความยาวประมาณ 2.5-3 เมตร
2. ตัดต้นคลุ้มออกจากกอ
3. น าต้นคลุ้มที่ตัดแล้วมาผ่า แล้วฉีกออกเป็นซี่ๆ ท าการเหลาลบเหลี่ยม ลบความคม
4. น าซี่ต้นคลุ้มที่เหลาแล้ว มาสานเป็นลายขัดให้เป็นรูปวงกลม (ดังรูป)
5. ท างาตุ้มเพื่อดักปลาไหล โดยการเจาะรูให้เป็นรูปวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
2.5 นิ้ว
6. น าไม้ไผ่มาท างาตุ้ม ใส่ลงไปในที่เจาะรูไว้ เพื่อกันปลาไหลออก
7. น ากะลามะพร้าวมาเจาะรูผูกเชือก เพื่อน ามาปิดด้านบนของตุ้มดักปลาไหล
3) ขั้นตอนการท าจักสานตะกร้า (เข่งใส่ของ)
1. เลือกต้นคลุ้มที่ขนาดสวยงามและเหมาะสม ความยาวประมาณ 2.5-3 เมตร
2. ตัดต้นคลุ้มออกจากกอ
3. น าต้นคลุ้มที่ตัดแล้วมาผ่า แล้วฉีกออกเป็นซี่ๆ ที่มีขนาดตามความเหมาะสม และท าการ เหลาลบเหลี่ยม ลบความคม
4. น าซี่ต้นคลุ้มที่เหลาแล้ว มาสานเป็นลายขัดให้เป็นรูปวงกลมหรือสี่เหลี่ยม แล้วแต่
ความชอบ
4) ขั้นตอนการท าจักสานกระด้ง
1. เลือกล˚าไม้ไผ่ไทยที่ไม่อ่อนและไม่แก่จนเกินไป
2. ตัดไม้ไผ่ความยาวประมาณ 80 เซนติเมตร
3. ผ่าไม้ไผ่ออกเป็นซี่เล็ก ๆ ประมาณครึ่งเซนติเมตร และท˚าการเหลาลบเหลี่ยม ลบความคม
4. ตัดไม่ไผ่ความยาวประมาณ 1.5 เมตร จ˚านวน 2 อัน และท˚าการเหลาลบเหลี่ยม ลบความ คม เพื่อน˚ามาท˚าปากกระด้ง
5. ท˚าการสานให้เป็นลายบ้องยอง หรือลายสอง ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ
6. น˚าลายที่สานไว้มาขึ้นขอบเพื่อท˚าเป็นกระด้ง
7. น˚าหวายเส้นเล็กมาผ่า 4 ซี่ และท˚าการเหลาลบเหลี่ยม ลบความคม แล้วน˚าหวายมาผูกที่ ขอบกระด้ง และน˚าหวายอีก 1 เส้น มาถักเป็นลายหางจระเข้ หรือลายหางแลน สิ่งที่ต้องการพัฒนาต่อยอดร่วมกับอาชีวศึกษา
1. เครื่องมือ/อุปกรณ์ส˚าหรับแปรรูปไม้ไผ่ ได้แก่
1.1 เครื่องมือส˚าหรับผ่าไม้ไผ่ จ˚านวน 3 ตัว
1.2 เครื่องมือเหลาซี่ไม่ไผ่ จ˚านวน 3 ตัว
2. การบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่และวัสดุจากธรรมชาติ
3. ช่องทางการตลาดและจ˚าหน่ายผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่และวัสดุจากธรรมชาติ ของกลุ่ม ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ บ้านคลองพี หมู่ที่ 9 ต˚าบลบาละ อ˚าเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย คณะทีมงาน กศน.ต˚าบลบาละ ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย คณะทีมงาน กศน.ต˚าบลบาละ
Post a Comment