TKP HEADLINE

“มหัศจรรย์ปุ๋ยหมักเติมอากาศ” โดยคุณบุญธรรม คชรินทร์

 “มหัศจรรย์ปุ๋ยหมักเติมอากาศ” โดยคุณบุญธรรม คชรินทร์

นายบุญธรรม  คชรินทร์
อายุ 62 ปี เป็นปราชญ์เกษตรตำบลตาขัน ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 3 หมู่ที่ 7 บ้านหนองขนุน ตำบลตาขัน อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง 
     นายบุญธรรม  คชรินทร์ ประสบปัญญาพิษเศรษฐกิจ เมื่อปี 2540 หลังจากนั้นจึงได้เกิดแนวคิดและแรงบันดาลใจที่จะหาแนวทางการแก้ไข เพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงการดำรงอยู่และปฏิบัติตนโดยมีความมุ่งมั่นที่จะเอาชนะกับสิ่งเหล่านั้น ทำให้เกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ศักยภาพของครอบครัวตนเอง โดยเริ่มจากการผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง การปลูกผัก การเลี้ยงปลา การเลี้ยงไก่ไข่ การทำเกษตรผสมผสานและการทำปุ๋ยหมักเติมอากาศ จนเป็นที่ยอมรับของชาวบ้านในการทำเกษตรผสมผสาน 

ในปี พ.ศ. 2548 ได้ใช้พื้นที่บ้านของตนเองจัดตั้งเป็น 
“จุดเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ” บ้านหนองขนุน หมู่ที่ 7 ตำบลตาขัน อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง  เป็นศูนย์การเรียนรู้การทำเกษตรผสมผสาน ให้กับหน่วยงาน องค์กร ประชาชนหรือคนที่สนใจเรียนรู้ โดยแบ่งเป็นฐานการเรียนรู้ และฐานการเรียนรู้ที่โดดเด่นเป็นที่ให้ความสนใจของผู้ที่เข้ามาเรียน คือ 
“ปุ๋ยหมักเติมอากาศ”

  ฐานการเรียนรู้การปลูกข้าว      


ฐานการเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี


ฐานการเรียงหอยขมในบ่อซีเมนต์


ฐานการปลูกพืชในปลอกซีเมนต์


ฐานสวนมังคุดผิวมัน


“ปุ๋ยหมักเติมอากาศ” เป็นกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักรูปแบบหนึ่งที่เน้นการผสมรวมกันระหว่างวัสดุอินทรีย์ที่ให้คาร์บอนและไนโตรเจน จากพวกซากพืช, ซากสัตว์ และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หลากหลายชนิด ขณะเดียวกันใช้วิธีเติมอากาศแทนการกลับกองปุ๋ย เพื่อรักษาสภาพอากาศในกองให้มีความเหมาะสมเพื่อเร่งกระบวนการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ โดยจุลินทรีย์ธรรมชาติในกองปุ๋ย 



เมื่อย่อยสลายสมบูรณ์แล้วจะแปรสภาพเป็นปุ๋ยหมัก ที่มีลักษณะสีดำคล้ำหรือสีน้ำตาลปนดำ 
ไม่มีกลิ่น มีคุณสมบัติที่ดีต่อรากพืช จนพบว่าผลผลิตที่ได้มีคุณภาพทัดเทียมกับปุ๋ยชนิดอื่น 
ที่สำคัญช่วยในเรื่องการลดต้นทุนได้มากกว่ามีการอบรมชาวบ้านให้ความรู้เพื่อทำ“ปุ๋ยหมักเติมอากาศ”
มาใช้ในสวนผลไม้ของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบ้านค่าย
        วัตถุดิบที่ใช้ประโยชน์ในการผลิตที่เกิดจากภูมิปัญญา “ปุ๋ยหมักเติมอากาศ” สามารถใช้วัสดุทางธรรมชาติของแต่ละพื้นที่ได้แต่ละพื้นที่ การใช้ซากพืช ซากสัตว์ (ขี้ไก่แกลบ ขี้วัว ขุยมะพร้าว) มาใช้ในอัตรา 30 : 30 : 30 ทั้งนี้ หากพื้นที่อื่นไม่มีวัสดุดังกล่าว แต่อาจมีฟาง หญ้าแห้ง ใบไม้แห้ง ใบกระถิน ขี้ไก่ ขี้หมู ก็อาจปรับใช้ได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่ขอให้ยึดอัตราส่วนตามมาตรฐานที่ทางกรมวิชาการกำหนดไว้คือ 30 : 30 : 10 น้ำจากการหมักปุ๋ยเติมอากาศใช้สำหรับรดพืชผักหลังจากนั้นให้นำวัสดุทางธรรมชาติที่ได้ตามอัตราส่วนไปหมักด้วยระบบเติมอากาศ การหมักวัสดุเพื่อทำปุ๋ยแบบเดิมมีข้อเสียตรงที่ต้องหมั่นกลับกองปุ๋ย แต่สำหรับปุ๋ยหมักเติมอากาศจะใช้ลมเป่าเพื่อให้ออกซิเจนเติมเข้าไป เป็นการเร่งปฏิกิริยากระบวนการหมักให้เร็วแล้วได้ผลมากขึ้น “โดยพัดลมมีหน้าที่ระบายอากาศเพื่อให้อุณหภูมิการหมักลดลงเป็นการตั้งเวลาอัตโนมัติไว้ทุก 3 ชั่วโมง พัดลมจะทำงานจำนวน 1 ชั่วโมง พอหลังจากหมักผ่านไป 3 วัน จะพบว่ามีหนอนเป็นจำนวนมากซึ่งบ่งบอกถึงความสมบูรณ์ ทั้งนี้ การหมักปุ๋ยใช้เวลาทั้งหมด 3 เดือน โดยให้กลับกองปุ๋ยเพียงครั้งเดียวในเดือนที่สอง กระทั่งเมื่ออุณหภูมิในกองปุ๋ยลดลงเท่ากับอุณหภูมิอากาศก็สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยในการปลูกพืชได้

จุดเด่นของ “ปุ๋ยหมักเติมอากาศ”  
ใช้วัตถุดิบที่มีในชุมชนในการหมักปุ๋ย สามารถนำมาใช้และสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้ชาวบ้านเกษตรกรที่สนใจต้องการนำปุ๋ยหมักเติมอากาศไปใช้ในสวนของตัวเองอาจไม่จำเป็นต้องสร้างโรงปุ๋ยให้มีขนาดใหญ่แต่อาจพิจารณาตามความเหมาะสมของพื้นที่ แต่วัสดุที่ใช้ก่อสร้างอาจเป็นสิ่งของที่ประยุกต์หรือดัดแปลงของเหลือใช้ อย่างไม้ กระเบื้อง เพียงขอให้มีรูปร่างที่เป็นมาตรฐาน เพราะการทำปุ๋ยจำนวนไม่มาก ไม่จำเป็นต้องลงทุนมากก็ได้ แต่ขณะเดียวกันจะได้ประโยชน์ที่คุ้มค่า แล้วใช้ไปได้นานในส่วนของกิจกรรมที่ศูนย์การเรียนรู้ได้จัดขึ้น

สนใจติดต่อ ขอความรู้เพิ่มเติมได้ที่ 
“จุดเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ”
บ้านหนองขนุน ตำบลตาขัน อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง 
โทรศัพท์ 08 7603 9454
Facebook : ศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ บ้านหนองขนุน ตำบลตาขัน 

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวสุกัญญา  อาจพงษา
                             ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวสุกัญญา  อาจพงษา
                                              อ้างอิง https://sites.google.com/view/takhann/













Share this:

Post a Comment

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 Thailand Knowledge Portal. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand