การแปรรูปผลิตภัณฑ์ขมิ้น
นางปรีดา ทวีรส เติบโตมาในครอบครัวที่พ่อแม่มีอาชีพทำการเกษตร ทำสวน ปลูกขมิ้น รู้จักขมิ้นตั้งแต่เด็กๆ ปลูกเป็นผักสวนครัวและนำมาใช้ในการประกอบอาหารและทำยาของคนภาคใต้ ขมิ้นเป็นของดีของชาวตำบลถ้ำทองหลาง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในหุบเขา เหมาะต่อการปลูกขมิ้น เพราะมีอุณหภูมิที่เหมาะสมและดินอุดมสมบูรณ์ที่สุดของอำเภอทับปุด จังหวัดพังงา จึงมีการปลูกขมิ้นกันมากและได้รวมกลุ่มส่งเสริมปลูกขมิ้นกันทั้งตำบล และจุดเด่นของขมิ้นในตำบลถ้ำทองหลางคือเป็นขมิ้นที่ได้รับการตรวจสอบแล้วว่าเป็นขมิ้นที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดของประเทศไทยการเพาะปลูกไม่ใช้สารเคมี
ปี 2540 เริ่มมีการแปรรูปขมิ้นอย่างจริงจังโดยเริ่มการแปรรูปขมิ้นเป็นขมิ้นผงก่อนเป็นอันดับแรก เหตุผลเพราะสามารถเก็บไว้ได้นาน การเรียนรู้เรื่องการทำขมิ้นผงหรือแปรรูปขมิ้นผงจากดั่งเดิม ต่อมาก็เรียนรู้เพิ่มเติมจากนายลับ จีนโชติ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในตอนนั้นเริ่มตั้งแต่ขบวนการผลิต การหั่น การตาก การตำด้วยครกไม้ตำด้วยมือโดยสมาชิกกลุ่มทุกคนในกลุ่มช่วยกันซึ่ง ข้าพเจ้าก็ยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานในการดำเนินการและบริหารจัดการทุกอย่างของกลุ่มเพื่อให้สมาชิกกลุ่มอยู่ได้และสามารถสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักขมิ้นชันบ้านถ้ำทองหลางในปัจจุบัน จนต่อมาในปี 2544 สามารถแปรรูปขมิ้นชันได้หลายรูปแบบ เช่น เครื่องแกงจากเครื่องแกงตำมือจนมีชื่อเสียงตำมือไม่ทันกับความต้องการของตลาดต้องพัฒนาเรื่อยๆจึงคิดซื้อเครื่องบดเครื่องแกงโดยใช้เครื่องจักร ปัจจุบันต้องใช้เครื่องบดในการทำเครื่องแกงส่วนด้านคุณภาพยังคงเหมือนเดิมซึ่งเครื่องบดเครื่องแกงได้รับงบประมาณในการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ขมิ้นอัดแคปซูล ข้าวเกรียบสมุนไพรขมิ้นชัน จนสมาชิกกลุ่มมีความเข้มแข็งในปัจจุบันสามารถมีอาชีพและรายได้ให้กับสมาชิกกลุ่มและประชาชนในตำบลถ้ำทองหลางที่ปลูกขมิ้นจนสามารถสร้างเป็นอาชีพ รายได้และแก้ปัญหาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำจนเป็นสินค้าโอท็อประดับ 5 ดาว ของจังหวัดพังงา จากกลุ่มขมิ้นชันในปัจจุบันเป็นหน้าตาและชื่อเสียงให้กับสมาชิกกลุ่มและชาวอำเภอทับปุด จังหวัดพังงา เมื่อปี พ.ศ.2549 มีการศึกษาดูงานและนำมาปรับปรุง พัฒนาวิธีการปลูกขมิ้นให้มีหัวดก มีการค้นคว้า เข้ารับการอบรมเพิ่มเติมเพื่อสร้างความรู้ใหม่ นำมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์อยู่เสมอ มีการบริหารจัดการกลุ่มที่ดี เป็นกลุ่มที่มีความเข้มแข็ง หน่วยงานภาครัฐและเอกชนไปศึกษาดูงานอยู่เสมอ ปัจจุบันเป็นแหล่งเรียนรู้และศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับการแปรรูปขมิ้นและขิง
นางปรีดา ทวีรส เป็นชาวบ้านตำบลถ้ำทองหลาง บ้านเขาตำหนอน มีอาชีพปลูกขมิ้นมาแต่โบราณ ในอดีตชาวจีนเชื้อสายฮกเกี้ยนอพยพมาตั้งรากฐาน ทางฝั่งทะเลอันดามันจำนวนมากและได้นำขมิ้นมาปลูก ประกอบกับสภาพดินของตำบลมีแร่ธาตุจึงปลูกขมิ้นได้ผลดีมาแต่โบราณ กระทั่งเมื่อปี 2556 ราคาขมิ้นตกต่ำมาก จากกิโลกรัมละ 30 บาทเหลือเพียง 4 บาท ชาวบ้านจึงรวมตัวกันไปปรึกษากับเจ้าหน้าที่เคหะกิจเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอทับปุด จึงได้จัดตั้งเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรขึ้น แปรรูปขมิ้นสดเพื่อเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบที่มีอยู่แล้วไม่ให้สูญเปล่า โดยเริ่มแรกมีสมาชิกเพียง 7 คน ปัจจุบันเพิ่มเป็น จำนวน 26 คน และมีสมาชิกเครือข่ายอีก 85 คน
Post a Comment