อำเภอขาณุวรลักษบุรี ตั้งอยู่บริเวณทางใต้ลุ่มแม่น้ำปิง เป็นชุมชนโบราณ เดิมเรียกว่า เมืองแสนตอ สันนิษฐานว่าเป็นเมืองโบราณรุ่นเดียวกับเมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม และเมืองชากังราว มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน มีบันทึกในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐว่า เมื่อ พ.ศ. 2102 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้เสด็จมาคล้องช้าง ณ เมืองแสนตอ ซึ่งขึ้นกับเมืองกำแพงเพชรได้ช้างถึง 40 เชือก
ชุมชนเก่าแก่ของอำเภอขาณุวรลักษบุรี คือ ชุมชนเขากะล่อน บริเวณบ้านป่าพุทรา เป็นชุมชนในยุคหินใหม่มีอายุประมาณ 5,000-10,000 ปี จากการสำรวจของมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อปีพุทธศักราช 2530 พบโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก อาทิ ขวานหินขัด หัวธนู กำไล ลูกปัด เศษภาชนะดินเผา จากหลักฐานดังกล่าวยืนยันได้ว่าชุมชนเมืองแสนตอเป็นเมืองเก่าแก่ก่อนประวัติศาสตร์ของจังหวัดกำแพงเพชร
แต่เดิมอำเภอขาณุวรลักษบุรีมีฐานะเป็นกิ่งอำเภอ แยกจากอำเภอคลองขลุง มีชื่อว่า “กิ่งอำเภอแสนตอ” ที่ว่าการกิ่งอำเภอแสนตอ เดิมตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิง (หน้าโรงเรียนวัดน้อยวรลักษณ์ในปัจจุบัน) เนื่องจากถูกน้ำกัดเซาะจึงย้ายมาตั้งในสถานที่ปัจจุบัน มีพื้นที่เชื่อมต่อกับจังหวัดนครสวรรค์
ความหมายของรำวง 3 ส.
อำเภอขาณุวลักษบุรี จึงเป็นหนึ่งในเมืองเก่าของจังหวัดกำแพงเพชร ลูกหลานยังคงสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของคนพื้นถิ่นมาอย่างยาวนาน และมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ผู้เขียนขอกล่าวถึงด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ของชาวอำเภอขาณุวรณี ที่สะท้อนถึงค่านิยม ประเพณี วิถีชุมชน ที่สำคัญคือ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความสุข ความรักสามัคคีของชาวขาณุวรลักษบุรี กลุ่ม “รำวง 3 ส.” เป็นการรวมตัวกันของคนที่มีความชอบด้านดนตรี เสียงเพลง และการดูแลสุขภาพตนเอง โดยกลุ่มได้นำรูปแบบการรำวงมาเป็นกิจกรรมในการรวมตัวของกลุ่ม และได้พัฒนาท่วงท่าการรำวงให้เป็นแบบฉบับของกลุ่ม เน้นความสนุกสนาน กลุ่มได้ให้ความหมาย ของ 3 ส. ประกอบด้วย
ส.ที่ 1 สนุก
ส.ที่ 2 สุขภาพดี
ส.ที่ 3 สามัคคี
รวมเป็น รำสนุก-สุขภาพดี-สามัคคีเกิด จึงใช้ชื่อกลุ่มว่า รำวง 3 ส. มาตลอด ถึงปัจจุบันเป็นเวลา 6 ปีแล้ว
ส.ที่ 2 สุขภาพดี
ส.ที่ 3 สามัคคี
รวมเป็น รำสนุก-สุขภาพดี-สามัคคีเกิด จึงใช้ชื่อกลุ่มว่า รำวง 3 ส. มาตลอด ถึงปัจจุบันเป็นเวลา 6 ปีแล้ว
หากมีผู้สนใจสามารถแวะเวียนมาชมการรำวงของกลุ่มได้ทุกวัน หรือต้องการมาเรียนรู้ฝึกการรำวง กลุ่มก็ยินดีแบ่งปันถ่ายทอดศิลปะการรำวงให้กับผู้ที่สนใจ เพื่อให้ รำวง 3 ส. คงอยู่ในใจของลูกหลาน ประชาชนชาวอำเภอขาณุวรลักษบุรี และเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
เขียน/เรียบเรียง โดย นางธัญมล โอมณีเขียว ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย กศน.อำเภอขาณุวรลักษบุรี
ภาพถ่าย/ โดย นางสาววณิชา อินทรศักดิ์
ภาพโดย นางสาววณิชา อินทรศักดิ์ (2565)
ข้อมูลเนื้อหา โดย นางสาววณิชา อินทรศักดิ์ สมาชิกกลุ่ม รำวง 3 ส.
เขียน/เรียบเรียง โดย นางธัญมล โอมณีเขียว ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย กศน.อำเภอขาณุวรลักษบุรี
จังหวัดกำแพงเพชร
ภาพถ่าย/ โดย นางสาววณิชา อินทรศักดิ์
อ้างอิง
KRURAVIWUN. ประวัติความเป็นมารำวงมาตรฐาน. สืบค้นเมื่อ 02 มีนาคม 2565 จากhttps://sites.google.com/a/bualai.ac.th/kruraviwan/prawati-khwam-pen-ma-rawng-matrthan
ฐานข้อมูลท้องถิ่นกำแพงเพชร-ตาก. ประวัติอำเภอขาณุวรลักษบุรี. สืบค้นเมื่อ 02 มีนาคม 2565 จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=3&code_db=610001&code_type=06
ดาวน์โหลดเอกสารบทความ รำวง 3 ส. สืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น แบ่งปันรอยยิ้มและความสุข
Post a Comment